วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Bacteria



แบคทีเรีย (bacteria)


แบคทีเรีย คือ จุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่เป็นเซลล์แบบโปรแคริโอต (prokariotic cell) พบทั่วไปในธรรมชาติ ดิน น้ำ อากาศ แบคทีเรียมีบทบาทสำคัญต่ออาหาร และการผลิตอาหาร เพราะแบคทีเรียเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) และทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning)    ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้น การถนอมอาหาร (food preservation) ทุกวิธีเป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อทำลาย หรือควบคุมสภาวะแวดล้อม เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย

 
ขนาดและรูปร่างของแบคทีเรีย
แบคทีเรียมีขนาด 0.5-10 ไมครอน (micron) มีรูปร่างต่างๆกัน
  


แบคทีเรียมีรูปร่างหลายแบบ ดังนี้
    บาซิลลัส (bacillus) มีรูปร่าง เป็นท่อน หรือเป็นแท่งเช่น Bacillus, Clostridium, Pseudomonas , Salmonella
        สเตรปโทบาซิลลัส (Streptobacillus) เมื่อแบ่งเซลล์แล้วเรียงตัวต่อเป็นสายยาว
        ท่อนโค้ง (curverod) เช่น Vibrio
   ทรงกลมหรือค็อกคัส (cocus) เช่น
        ไมโครค็อกคัส (Micrococcus) เป็นแบคทีเรีย เซลล์เดี่ยวขนาดเล็ก
        ดิโพค็อกคัส (Diplococcus) เมื่อแบ่งเซลล์แล้วติดกันเป็นคู่
        สเตรปโทค็อกคัส (Streptococcus) แบ่งตัว เรียงตัวเป็นสายยาว เหมือนโซ่
        สเตรฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) เป็นลักษณะของ เซลทรงกลมแบ่งตัวหลายระนาบอยู่ติดกันเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น เช่น Staphylococcus aureus
       สไปโรคี (Spirochete) รูปร่างบิดเป็นเกลียว ผนังเซลล์ยืดหยุ่นได้ เช่น Campylobacter jejuni

การเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย
แบคทีเรียขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวแบบทวิภาค (binary fission) คือแบ่งจากหนึ่งเป็นสองเซลเท่าๆกัน ระยะเวลแบ่งเซลเรียกว่า generation time ซึ่งแบคทีเรียแต่ละชนิดจะใช้เวลาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรียและ สภาพแวดล้อม


โครงสร้างของแบคทีเรีย



แบคทีเรียทุกชนิดมีโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบเซลล์ ได้แก่
  • ผนังเซลล์ (cell wall)
  • เซลล์เมมเบรน (cell membrane)
  • ไซโทพลาสซึม (cytoplasm)
  • โครโมโซมเดี่ยว (single chromosome)
  • ไรโบโซม (ribosomes)
ในแบคทีเรียบางชนิดจะมี
  • แคปซูล (capsules)
  • ไกโคแคลิกซ์ (glycocalyx)
  • พิลไล (pili) หรือฟิมเบรีย (fimbriae)
  • มีโซโซม (mesosome)
  • แฟลกเจลลา (flagella)
  • อินคลูชันแกรนูล (inclusion granule)




โรคคอตีบ diphtheria

โรคคอตีบหรือ Diphtheria เป็นโรคติดต่อร้ายแรงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก คอ และหลอดลม เชื้อนี้ทำให้เกิดเยื่ออุดหลอดลม เชื้อยังสารสาร Toxin ซึ่งจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ



เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Corynebacterium diphtheriae     

อาการของโรคคอตีบ
  • น้ำมูกไหล
  • เจ็บคอ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • มีไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
  • มีเยื่อที่คอ
  • หายใจลำบาก
  • กลืนลำบาก

การติดเชื้อที่ผิวหนัง

เชื้อนี้จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แผลมีการอักเสบ และมีหนองเขียวที่แผล


การติดต่อ

โรคคอตีบติดต่อโดยการกิน หรือหายใจเอาน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วยเข้าไป อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อ 2- 10วัน ที่สำคัญผู้ป่วยบางคนมีเชื้อนี้แต่มีอาการน้อยซึ่งอาจจะทำให้เชื้อแพร่ กระจาย การติดต่อมี 3 ทาง
  • เมื่อผู้ป่วยจามหรือไอเชื้อโรคจะไปกับน้ำลายและเสมหะ คนปกติเมื่อสูดดมเข้าไปก็จะเกิดโรคโดยเฉพาะในที่ระบายอากาศไม่ดี
  • คนปกติได้รับเชื้อจากรับประทานโดยมีการปนเปื้อนน้ำลายหรือเสมหะผู้ป่วย เช่นน้ำดื่ม อาหาร แว่นตา
  • ติดต่อจากเครื่องใช้ในครัวเรือนร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ของเล่น

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • ผู้ที่สัมผัสกับคนที่ป่วยเป็นโรคนี้
  • ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่มีภูมิบกพร่อง
  • ผู้ที่อาศัยในพื้นที่สุขอนามัยไม่ดี
  • นักท่องเที่ยวไปยังแหล่งระบาด

การตรวจร่างกาย

ระบบหายใจ
  • ผู้ป่วยจะมีไข้
  • เมื่อตรวจคอจะพบฝ้าขาว ที่คอต่อมทอนซิล
  • ที่คอจะพบต่อมน้ำเหลือที่คอ ใต้หู
  • ฟังปอดอาจจะได้เสียงหลอดลมตีบ stridor
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทางระบบประสาท
  • อาจจะทำให้เส้นประสาทสมองเป็นอัมพาตเกิดอาการปากเบี้ยว ม่านตาโต ตาเข
  • มีปลายมือปลายเท้าชา
  • มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวินิจฉัยโรค
  • จากประวัติการเจ็บป่วย
  • จากประวัติไปท่องเที่ยวยังแหล่งระบาด
  • ตรวจร่างกายพบแผ่นฝ้าขาวในคอ
  • เพาะเชื้อจากแผ่นฝ้าขาว

การรักษา

เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคคอตีบจะต้องให้การรักษาโดยที่ไม่รอผลการตรวจ
  • ให้นอนโรงพยาบาล และนอนห้องแยกโรคเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
  • เฝ้าระวังเรื่องระบบหายใจอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอาจจะมีการอุดทางเดินหายใจ
  • เฝ้าระวังระบบไหลเวียนเนื่องจากโรคคอตีบอาจจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดหัวใจล้มเหลวหรือความดันโลหิตต่ำ
  • ยาปฏิชีวนะเช่น penicillinหรือ Erythromycin รักษาทั้งผู้ป่วย และผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ระยะเวลารักษา 14 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • ให้ Diphtheria antitoxin ทันทีที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
  • ยาอื่นๆรักษาตามอาการ
  • การผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกหากมีการอุดหลอดลม
  • รักษาโรคแทรกซ้อน
  • ให้พักผ่อน
การป้องกัน
ป้องกันโดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ
โรคแทรกซ้อนของโรคคอตีบ
  • เยื่อที่แบคทีเรียสร้างอุดหลอดลมทำให้หายใจลำบาก
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดหัวใจล้มเหลว
  • ไตเสื่อม
  • มีการทำลายระบบประสาท





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น